วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความชื้นโดยครูเบียร์ 3

แล้วความชื้นสัมพัทธ์ มีผลต่อเราอย่างไร โดยครูเบียร์
เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีมาก แสดงว่า ปริมาณ ไอน้ำในอากาศมีมาก
ซึ่งบางคนจะคิดว่า อากาศจะเย็นสบาย แต่อันที่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะว่า เมื่อร่างกายเราร้อน เราจะขับความร้อนผ่านเหงื่อ ซึ่ง เหงื่อจะต้องระเหยเข้าสู่บรรยากาศ ถ้าไอน้ำในบรยากาศมีมาก เหงื่อก็จะระเหยได้ยาก เพราะว่า อากาศมีไอน้ำอยู่มากแล้ว จึงไม่ค่อยรับไอน้ำที่ไปจากร่างกายเรา ดังนั้น ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ มีมาก เราก็จะรู้สึกอึดอัด
แล้วถ้าความชื้นสัมพัทธ์มากทำไมจึงตากผ้าแห้งช้า เพราะว่า การที่ผ้าจะแห้งนั้น น้ำในผ้าจะต้องระเหยสู่อากาศ ซึ่ง เมื่ออากาศมีไอน้ำอยู่เยอะแล้ว อากาศจึงรับไอน้ำที่ระเหยไปจากผ้าได้ไม่มาก ผ้าจึงแห้งช้า

ความชิ้นโดยครูเบียร์ 2

ความชื้น โดยครูเบียร์ 2
จากความเดิมตอนที่แล้ว ถ้าสมมติว่า อากาศสามารถรับไอน้ำได้สูงสุด 100 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ณ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อเรา เพิ่มอุณหภูมิ เป็น 30 องศาเซลเซียส อากาศจะรับไอน้ำได้ เพิ่มขึ้น สมมติว่า เป็น 200 กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่า อากาศรับไอน้ำได้เพิ่ม 100 กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร 
คราวนี้ถ้าเดิม อากาศ มีไอน้ำ 100 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ณ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะพบว่า อากาศอิ่มตัว นั่นก็คือ มีความชื้นสัมพัทธ์ 100 % ณ อุณหภูมิ 25องศาเซลเซียส ถ้าผมเพิ่มอุณหภูมิ เป็น 30 องศาเซลเซียส จะพบว่า ยังมีไอน้ำ้ อยู่ 100 กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เท่าเดิม แต่ความสามารถของอากาศในการรับไอน้ำได้ เป็น 200 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ ณ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็น 50 % นะครับ จะสังเกตได้ว่า ต้องบอกด้วยว่า ณ อุณหภูมิใด นะครับ
สำหรับ ค่าความชื้นเมื่อไอน้ำอิ่มตัวนั้น ในตัวอย่างเป็นค่าที่ผมสมมติมาเผื่อให้คิดเลขง่าย แต่ถ้าเป็นค่าจริงๆแล้ว ก็ให้เปิดตาราง Psychometric Chart นะครับ

ความชื้น โดยครูเบียร์ 1

ความชื้นโดยครูเบียร์ 1
อากาศนะครับ จะมีความสามารถรับไอน้ำได้ในระดับหนึ่ง เมื่อถ้ารับจนอิ่มตัวแล้ว หรือ รับจนไม่สามารถรับได้อีก นั่นหมายความว่าไอน้ำอิ่มตัว ซึ่งถ้าเราให้ไอน้ำไปอีก อากาศจะไม่สามารถรับได้ น้ำที่เกินไปก็จะเป็นหยดน้ำ (ให้นึกถึง สารละลายนะครับ ถ้าน้ำเชื่อม เติมน้ำตาลจนอิ่มตัวแล้ว น้าตาลที่เติมไปอีกจะไม่ละลาย) แต่ว่า ความสมารถในการรับไอน้ำนี้จะเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าอากาศจะอิ่มตัวที่อุณหภูมินี้ 
***แต่ พอเพิ่มอุณหภูมิ อากาศก็จะสามารถรับไอน้ำได้เพิ่มมากขึ้นอีกนะครับ***
ถ้าที่ 25 องศาเซลเซียส อากาศรับไอน้ำได้สูงสุด 100 กรัมต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ขณะนี้มีไอน้ำ 100 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร นั้นแสดงว่า ไอน้ำอิ่มตัวตัว ณ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสนะครับ ซึ่ง ถ้าไอน้ำที่มีอยู่จริงเป็น 50กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ก็จะมีความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ณ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส นะครับ
ดังนั้น ถ้าไอน้ำอิ่มตัว แสดงว่ามีไอน้ำ 100 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จากความสามารถของอากาศที่รับได้ 100 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่า ความชื้นสัมพัทธ์เป็น 100 % ณ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสนะครับ*** เวลาบอกความชื้นสัมพัทธ์ ต้องบอกด้วยนะครับว่า ณ อุณหภูมิเท่าใด***


Absolute vs Relative

คำว่า Absolute หรือ สัมบูรณ์ และ คำว่า Relative คือ สัมพัทธ์ นะครับ
คำว่า สัมบูรณ์ คือ จริงๆ ส่วนสัมพัทธ์ นี่จะมีการเปรียบเทียบนะครับ
เริ่มที่ ความเร็วสัมพัทธ์ ก่อน ความเร็วสัมพัทธ์ คือความความเร็วที่ผู้สังเกตได้รับ พูดง่ายๆว่ามีการเปรียบเทียบกับผู้สังเกต เช่น
ถ้ารถยนต์วิ่งด้วยอัตราเร็ว 5 เมตร ต่อวินาที และเราวิ่งด้วยอัตราเร็ว 5 เมตร ต่อ วินาที ในทิศทางเดียวกับรถยนต์ เราจะเห็นรถคันนั้นอยู่นิ่ง
ถ้ารถยนต์วิ่งด้วยอัตราเร็ว 5 เมตร ต่อวินาที และ เราวิ่งสวนด้วยอัตราเร็ว 5 เมตรต่อวินาที เราจะเห็นรถวิ่งด้วย อัตราเร็ว 5+5 = 10 เมตร ต่อวินาที
ดังนั้น ถ้าผู้สังเกต เคลื่อนที่ ความเร็วของรถที่เราได้รับก็จะแตกต่างกันไป
แต่ถ้าอยากรู้อัตราเร็ว ของรถจริงๆ ผู้สังเกตจะต้องอยู่นิ่ง แล้วเราจะรู้ว่า รถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 5 เมตรต่อวินาทีจริง อย่างนี้เรียกว่า ความเร็วสัมบูรณ์

จะมาพูดถึง ความชื้นสัมบูรณ์ และ ความชื้นสัมพัทธ์ ต่อนะครับ
ความชื้นสัมบูรณ์ คือ ความชื้นที่มีอยู่ในขณะนั้นจริงๆ โดย คิดได้จาก มวลของไอน้ำ หารด้วย ปริมาตร เช่น มวลไอน้ำ 2 กรัม ในอากาศ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ความชื้นสัมบูรณ์จะเป็น 2/100 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ นั้น เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ความชื้นสัมบูรณ์ ณ อุณหภูมินั้นๆ หารด้วย ความชื้นที่ไอน้ำอิ่มตัว ณ อุณหภูมิ นั้นๆ แล้ว คูณ 100 % เช่น ถ้าขณะนั้น ความชื้นในอากาศ เป็น 5 กรัม ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ณ อุณหภูมิ หนึ่งๆ และ พบว่า ไอน้ำจะอิ่มตัว เป็น 20 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ณ อุณหภูมินั้น แสดงว่า ความชื้น สัมพัทธ์ เป็น (5/20)x100%=25% ณ อุณหภูมินั้น ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าเป็นข้อมูลที่มีคำว่า สัมพัทธ์จะต้องมีการเอาไปเปรียบเทียบทุกครั้งครับ
โดยปกติแล้ว ความชื้นที่ไอน้ำอิ่มตัว เราสามารถเปิดได้จากตารางนะครับ