วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

Metacognition หรือ อภิปัญญา โดยครูเบียร์

Metacognition หรือ อภิปัญญา โดยครูเบียร์
อภิปัญญานั้นคือความสามารถของบุคคลในการที่รู้ว่าตนเองคิดอะไร รู้ว่าตนเองรู้อะไร รู้ว่าตนเองไม่รู้อะไร 
โดยมีการ 1. ควบคุมความคิดของตนเอง
2. ตรวจสอบความคิดของตนเอง

การที่นักเรียนมี metacognition ที่สูงนั้นจะส่งผลให้นักเรียนทำงานบรรลุเป้าหมายได้ดี
***
ทางหนึ่งในการพัฒนา metacognition คือ พยายามให้เด็กมีการเขียนบันทึกหลังเรียน หรือ การเขียนสะท้อนคิด ***
สะท้อนคิด เช่น วันนี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง นักเรียนคิดว่าอะไรที่นักเรียนเข้าใจ อะไรที่นักเรียนคิดว่านักเรียนยังไม่เข้าใจ เป็นต้น

Concrete vs Abstract โดยครูเบียร์

Concrete vs Abstract โดยครูเบียร์
Concrete หรือ รูปธรรม(สิ่งที่จับต้องได้) เช่น สื่อที่จับต้องได้

Abstract หรือ นามธรรม(สิ่งที่จับต้องไม่ได้) เช่น 3x3=9 

เด็กจะเข้าใจรูปธรรมได้ดีกว่านามธรรม
ดังนั้นแล้วการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ถ้าเราเริ่มแนวความคิดด้วยรูปธรรมก่อนแล้วตามด้วยนามธรรม เด็กจะเรียนได้ดีขึ้น
***
สรุปในการสอนคณิตศาสตร์ให้เริ่มด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมแล้วตามด้วยนามธรรมครับ***

แนะนำ Peer Tutoring โดยครูเบียร์

แนะนำ Peer Tutoring โดยครูเบียร์
การสอนแบบนี้ คือ การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนะครับ
ผมเคยใช้ Peer Tutoring ตอนสอนพิเศษนะครับ
โดยให้เพื่อนที่เข้าใจอธิบายเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจ
เป็นเรื่องง่ายๆแต่สร้างประโยชน์หลายอย่างนะครับ
1.
ภาษาที่นักเรียนใช้อธิบายกันจะเป็นภาษาในระดับที่ใกล้เคียงกัน นักเรียนด้วยกันจะเข้าใจได้ง่าย
2.
เป็นการลดช่องว่างระหว่างกัน เพราะเมื่อเพื่อนอธิบายเพื่อนนักเรียนจะมีความกล้าในการถามเพื่อน
3.
คนที่สอนเมื่อได้อธิบายจะมีความเข้าใจในสิ่งที่ตนรู้มากขึ้น
4.
จะเป็นการสร้างผู้สอนให้มากกว่า 1 คน บางครั้งการเรียนรู้อาจจะเกิดหลังจากชั้นเรียนก็ได้นะครับ
เห็นประโยชน์ของ Peer Tutoring ไหมครับ
ผมใช้ประจำ รับรองเลยว่าได้ผลดี

Task vs Exercise โดย ครูเบียร์


Exercise
คือ แบบฝึกหัดที่นักเรียนทำแบบซ้ำไปซ้ำมา เช่น โจทย์การคูณ 100 ข้อ แบบนี้ 
Task
คือ งานที่นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหา เพื่อที่จะค้นพบความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในนั้น เช่น ถ้าเรามีรั้วยาว 200 เมตร เราจะกั้นรั้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างไรให้ได้พื้นที่มากที่สุด (สังเกตว่า Task มักจะเป็นปัญหาปลายเปิด(Open-ended Question) หรือ มีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี) 
***
สรุปการจะพัฒนาความคิดขึ้นสูง(high level thinking) ของนักเรียนนั้นเราจะใช้ Task
ถ้าเป็น exercise จะไม่ค่อยพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียนครับ

Passive Learning vs Active Learning โดยครูเบียร์

Passive Learning vs Active Learning โดยครูเบียร์
1.
การเรียนแบบ Passive Learning นะครับ คือ การเรียนที่ผู้เรียนมีหน้าที่เหมือนผู้รับ นักเรียนไม่ค่อยได้คิดเอง เรียนแบบจดจำ เช่น ครูบรรยายนักเรียนก็จด ครูสอนนักเรียนก็จด สิ่งที่นักเรียนจะได้คือ information = ข้อมูล ไม่ใช่ Knowledge = ความรู้ 
ในศตวรรษที่ 21 นั้น information มีมากมาย นักเรียนหาได้ตาม Google แต่ตัว Knowledge นั้น นักเรียนจะต้องเรียนรู้ผ่านกระบวนการ คือ นักเรียนจะได้ Knowledge ผ่านตัว Process =กระบวนการ นักเรียนจะต้องมี How to หรือ กระบวนการในการแก้ปัญหา ไม่ใช่เพียงแค่จดจำข้อมูล
2.
การเรียนแบบ Active Learning นะครับ คือ การเรียนที่ผู้เรียนมีการ Active ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ นักเรียนจะมีโอกาสได้คิดและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนแบบ Problem-based learning ครูจะมีปัญหาให้นักเรียนและนักเรียนได้พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวของนักเรียนเอง เมื่อนักเรียนได้แก้ปัญหาแล้วนักเรียนจะนำปัญหาเหล่านั้นไปอภิปรายกันในกลุ่มและเมื่อได้ข้อสรุปนักเรียนก็จะมานำเสนอหน้าห้องและอภิปรายร่วมกันทั้งชั้นเรียน ครูมีหน้าที่เป็นแค่ facilitator = ผู้ช่วยเหลือ ช่วยไกด์ แต่ครูไม่ได้สอนเนื้อหานั้นเอง ความรู้ที่ได้มาจากการที่นักเรียนได้ทำด้วยตนเอง อภิปรายกันในห้อง จนสุดท้ายองค์ความรู้นั้นมาจากตัวของนักเรียนเอง 
***
แน่นอนว่า สิ่งที่นักเรียนได้เรียนแบบ Active Learning นั้น นักเรียนจะได้มี Mathematical Discussion= การอภิปรายทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใน Passive Classroom เราจะไม่ค่อยพบเพราะนักเรียนแค่นั่งฟังครู Response บ้าง***